งานบริการด้านจดทะเบียนธุรกิจ
อยากมีธุรกิจหรือกิจการเป็นของตัวเอง ควรเลือกแบบไหนดี ?
จดทะเบียนบริษัท
- จำนวนผู้เริ่มก่อตั้ง - ต้องมีผู้เริ่มก่อตั้งและผู้ถือหุ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 3 คน
- เงื่อนไขเกี่ยวกับทุนและหุ้น - แบ่งทุนออกเป็นหุ้น โดยที่หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน และหุ้นแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5 บาทเช่น ถ้าบริษัทมีทุน 1 ล้านบาท และมีหุ้นทั้งหมด 1,000 หุ้น แปลว่าหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่า 1,000 บาท
- จำกัดความรับผิดชอบทางการเงินของผู้ถือหุ้น - ผู้ถือหุ้นแต่ละคนรับผิดชอบหนี้สินเฉพาะในส่วนที่ตนเองลงทุนและรับผิดชอบไม่เกินในส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบ
- การแบ่งปันผลกำไรขาดทุน - จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือครอง
- การเสียภาษี - เสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ กรณีเป็น SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าร้อยละ 15-30
- ความจำเป็นในการจดทะเบียน - ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "บริษัทจำกัด" ต้องขึ้นจดทะเบียนและมีสถานะเป็นนิติบุคคล
ข้อดีของการจดทะเบียนรูปแบบบริษัท
- จำกัดความรับผิดชอบ ภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นกับบริษัทจะถูกจำกัดโดยจำนวนหุ้นที่คุณถือและไม่เกินในส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบ
- สามารถระดมทุนได้ เนื่องจากบริษัทถูกก่อขึ้นโดยจำนวนคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จึงง่ายต่อการขยายกิจการ
- ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เนื่องจากมีกฏหมายเป็นตัวควบคุมและถูกวางกรอบขณะดำเนินธุรกิจอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้คนภายนอกไว้วางใจ "บริษัทจำกัด" มากกว่าธุรกิจประเภทอื่น
- เสียภาษีน้อยกว่า หากจัดตั้งธุรกิจเป็นบริษัทซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีในอัตราสูงสุดเพียง 30% เท่านั้น ในขณะที่หากเป็นธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาเช่น ร้านค้า จะมีโอกาสถูกเรียกเก็บภาษีสูงสุดถึง 37%
ข้อดีของการจดทะเบียนรูปแบบบริษัท
- จำกัดความรับผิดชอบ ภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นกับบริษัทจะถูกจำกัดโดยจำนวนหุ้นที่คุณถือและไม่เกินในส่วนที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบ
- สามารถระดมทุนได้ เนื่องจากบริษัทถูกก่อขึ้นโดยจำนวนคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จึงง่ายต่อการขยายกิจการ
- ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เนื่องจากมีกฏหมายเป็นตัวควบคุมและถูกวางกรอบขณะดำเนินธุรกิจอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้คนภายนอกไว้วางใจ "บริษัทจำกัด" มากกว่าธุรกิจประเภทอื่น
- เสียภาษีน้อยกว่า หากจัดตั้งธุรกิจเป็นบริษัทซึ่งถือว่าเป็นนิติบุคคลจะเสียภาษีในอัตราสูงสุดเพียง 30% เท่านั้น ในขณะที่หากเป็นธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาเช่น ร้านค้า จะมีโอกาสถูกเรียกเก็บภาษีสูงสุดถึง 37%
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนเป็นธุรกิจที่ต้องมีผู้ก่อการหรือหุ้นส่วน 2 คนขึ้นไป โดยมี 3 ประเภทคือ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องจดทะเบียนขึ้นเป็นนิติบุคคลดังนั้นจึงต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ในกรณีที่เกิดหนี้สิน หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบหนี้สิน ร่วมกันทั้งหมดโดยอาจให้หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ทั้งหมดก่อนก็ได้
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้เกิดจากการนำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงมีฐานะเป็น นิติบุคคล และต้องเสียภาษีแบบนิติบุคคล มีผู้ตรวจสอบบัญชีจึงได้รับความน่าเชื่อถือจากคนภายนอกมากกว่า
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงต้องเสียภาษีแบบนิติบุคคล หุ้นส่วนแต่ละคนรับผิดชอบหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ตัวเองลงหุ้น มีความเชื่อถือเช่น เดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเพราะได้รับการตรวจสอบบัญชีจากภายนอก
ข้อดีของห้างหุ้นส่วน
- สามารถระดมทุน และความรู้ของหุ้นส่วนแต่ละคนมาพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมีศักยภาพยิ่งขึ้น
- เสียภาษีน้อยกว่า หากห้างหุ้นส่วนได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว สามารถเสียภาษีในอัตราสูงสุดเพียง 30% จาก 37% เหมือนกับบริษัทจำกัด
- จำกัดรับผิดชอบหนี้สิน หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนแต่ละคนถูกจำกัดความรับผิดชอบหนี้สินด้วยส่วนที่ตนรับลงทุน ห้างประเภทนี้จึงเหมาะกับกิจการที่เสี่ยงต่อการขาดทุน
ข้อเสียของห้างหุ้นส่วน
- ข้อขัดแย้ง อาจเกิดข้อขัดแย้งในหมู่ผู้ร่วมหุ้น
- ข้อจำกัด มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
- อุปสรรคในการถอนเงินทุน ถอนเงินทุนออกได้ยาก